การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วจะอ่านออกเสียงแบบธรรมดาเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราว
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วนี้ใช้กันมากในชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพอ่านข่าว อ่านรายงาน อ่านบทความทางวิทยุ โทรทัศน์
หรือบุคคลที่อ่านสุนทรพจน์ เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้น่าฟัง ใช้เสียงพูดธรรมดา
แต่มีการเน้นถ้อยคำเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน
สามารถรับสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
หลักการอ่านร้อยแก้วมีดังนี้
๑.อ่านให้น่าฟัง ผู้อ่านจะต้องลองซ้อมอ่านโดยอ่านในใจครั้งหนึ่งก่อน
เพื่อให้รู้เรื่องราวที่อ่านสามารถเข้าใจบทอ่านอย่างถูกต้อง
เพื่อจะได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเข้าใจความหมายของคำ
ถ้อยคำ สำนวนที่อ่านเข้าใจความคิดสำคัญของเรื่องที่อ่าน
จึงจะสามารถเว้นวรรคตอนการอ่านให้ถูกต้องตามเรื่องราว สามารถใช้น้ำเสียงได้น่าฟัง
มีการเน้นถ้อยคำอย่างถูกต้องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
และอ่านได้อย่างคล่องแคล่วราบรื่นไม่ตะกุกตะกัก
๒.อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีหรืออ่านให้ถูกต้องตามความนิยม การอ่านเป็นเรื่องของทักษะซึ่งจะต้องมีการฝึกฝนการอ่านอยู่เสมอ
โดยอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คำบางคำอ่านตามความนิยม
ผู้อ่านจะต้องทราบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอ่านคำต้องหมั่นสังเกตการอ่านของผู้อื่น
คำใดควรอ่านอย่างไร ถ้าไม่แน่ใจควรใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ช่วยตัดสินการอ่าน
๓.อ่านให้ชัดเจน ได้แก่ อ่านออกเสียง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ อย่างถูกต้อง เช่น
การอ่านออกเสียง ร – ล หรือคำควบกล้ำ ชัดเจน
การอ่านไม่ชัดเจน นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านขาดความระมัดระวัง
แล้วยังขาดการศึกษาอีกด้วย
๔. อ่านมีจังหวะ แบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง ภาษาไทยจะต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกที่
ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องนั้น ๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อจะได้แบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง
ฝึกการอ่านให้มีวรรคตอน ผู้อ่านอาจทำเครื่องหมาย / คั่นข้อความที่เว้นวรรค
ถ้าผู้อ่านอ่านผิดวรรคตอนย่อมทำให้ความหมายผิดไปด้วย เช่น
“ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงในเวลาทำงาน”
มีความหมายว่า — ในเวลาทำงานห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงมาทำงาน
ถ้าเว้นวรรคตอนการอ่านผิดเป็นดังนี้ “ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงใน
/ เวลาทำงาน” ความหมายจะเปลี่ยนไป
๕. อ่านให้คล่องแคล่ว ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่อ่านตะกุกตะกัก อ่านให้ต่อเนื่องกัน
การอ่านให้คล่องแคล่วจะต้องรู้จักกวาดสายตาในการอ่าน ดังนี้
๕.๑ การจับสายตาที่ตัวอักษร สายตาจะต้องเคลื่อนไปบนตัวอักษรบนบรรทัดจากซ้ายไปขวา โดยจับสายตาไปทีละจุด
จุดละ ๔ - ๕ คำ เป็นระยะ ๆ ดังนี้
x…….x…….x…….x…….x…….x…….x…….x
๕.๓ ช่วงสายตา หมายถึง จำนวนคำที่สายตากวาดไปบนตัวหนังสือทีละจุด ควรเป็น ๔-๕ คำ
๕.๔ การอ่านย้อนกลับ บางคนอ่านแล้วต้องอ่านย้อนกลับเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
การอ่านย้อนกลับทำให้อ่านได้ช้า
การอ่านได้คล่องแคล่วต้องฝึกอ่านโดยจับสายตาบนตัวหนังสือเป็นช่วง
ๆ ดังกล่าวและต้องอ่านอย่างมีสมาธิจึงจะอ่านได้รวดเร็ว
ร้อยแก้ว (prose) งานเขียนประเภทร้อยแก้ว
ได้แก่
งานเขียนที่ไม่มีบังคับในการแต่ง
ผู้เขียนมีอิสระในการเลือกใช้คำสำนวนโวหาร
ท่วงทำนองของการเขียน
และวิธีนำเสนอต่าง ๆ แต่กระนั้นก็ตาม
ร้อยแก้วก็ยังมีลักษณะเฉพาะบางประการที่จำแนกชนิดของงานเขียนร้อยแก้ว ดังนี้
๑. นวนิยาย (novel)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๔๒) ได้ให้นิยามของนวนิยายไว้ว่า
"เรื่องยาวที่แต่งขึ้นเป็นแบบร้อยแก้วจากชีวิตจริง
นิทานพื้นบ้านพื้นเมือง จินตนาการ
หรือประสบการณ์ เป็นต้น"
นอกจากความหมาย กว้าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
สมพร มันตะสูตร
(การอ่านทั่วไป. ๒๕๓๔. น. ๖๘)
ยังได้กล่าวถึงองค์ประกอบเฉพาะของนวนิยายไว้ว่า อย่างน้อยที่สุด น่าจะมี ๘ ประการ คือ
๑) โครงเรื่อง
๒) แก่นเรื่อง
๓) บทสนทนา
๔) ฉากหรือบรรยากาศ
๕) ทัศนคติของผู้แต่ง
๖) ท่วงทำนองการแต่ง
๗) ตัวละคร
๘) กลวิธีในการแต่งและกลวิธีในการเสนอเรื่อง
๒. เรื่องสั้น (short
story) งานเขียนประเภทเรื่องสั้นมีลักษณะคล้ายกับนวนิยายแต่สั้นกว่า ประภาศรี
สิหอำไพ (การเขียนแบบสร้างสรรค์. ๒๕๓๑. น.๙๒) กล่าวถึงเรื่องสั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า "เรื่องสั้น คือ
วิกฤตการณ์ที่มีเหตุสัมพันธ์ต่อเนื่องไปสู่ผล
ซึ่งเรียกว่า
จุดสุดยอดของเรื่องมีลักษณะการดำเนินเรื่องที่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว มีผลอย่างเดียว ใช้เวลาใสการเดินเรื่องสั้นรวดเร็ว มีทั้งเรื่องสั้นขนาดยาว และเรื่องยาวขนาดสั้น มีโครงเรื่อง
ตัวละคร ฉาก และบทสนทนาที่รัดกุม กระชับ
ไม่มีรายละเอียดมากนัก"
๓. สารคดี (non - fiction) คือ งานเขียนที่เขียนขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จินตนาการ นอกจากนี้ สนิท
ตั้งทวี (อ่านไทย. ๒๕๒๖. น.๑๙) ยังได้กล่าวไว้เป็นเชิงขยายความอีก่วา "หมายถึง
งานเขียนที่ผู้แต่งเจตนาให้สาระความรู้เป็นสำคัญ และให้ความเพลิดเพลินเป็นอันดับรองลงมา
เนื้อหาในสารคดีนั้นผู้เขียนจะเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับข้อเท็จจริง (fact)
ด้วยการใช้ภาษาร้อยแก้วที่สละสลวยชวนให้อ่าน สารคดีแบ่งออกเป็น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ และสารคดีอัตชีวประวัติ สารคดีวิชาการ
บทความ จดหมายเหตุ บันทึก
อนุทิน บทปาฐกถา บทบรรยาย
บทสัมภาษณ์ บทวิจารร์ นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิง (reference) สารานุกรม พจนานุกรม
นามานุกรม หรืออภิธานต่าง ๆ มักจัดแยกไว้จากสารคดี แต่โดยหลักการใหญ่แล้ว ก็เป็นประเภทให้ความรู้ เป็นสารคดีนั่นเอง"
๔.
ข่าว (news) คือ
งานเขียนที่มีลักษณะเรียบเรียงรายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง เปลื้อง ณ
นคร ได้กล่าวไว้ว่า
"ตามปรกติการเสนอข่าวแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ ๑)
เสนอเนื้อข่าวแท้ (news item) คือ เสนอแต่เฉพาะเนื้อหาของข่าว
เลือกเอาแต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์แต่ประการใด ๒) เสนอข่าวเรื่อง (news story) ในการเสนอข่าวแบบนี้หนังสือพิมพ์ต้องการให้ผู้อ่านสนุกขบขัน
ตื่นเต้น หรือสลดใจในข่าวที่เกิดขึ้น
คือ
ต้องการแต่งข่าวให้เป็นเรื่องราว
แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องอ่านเล่น
กล่าวคือ
ต้องมีความจริงเป็นสิ่งสำคัญ"
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
๑. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
๒. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม
การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
๑. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
๒. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม
หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
๒. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
๓. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
๔. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
๕. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
๖. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
๒. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
๓. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
๔. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
๕. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
๖. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง
การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
๑. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
๒. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
๓. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
๔. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
๕. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ
การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
๑. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
๒. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
๓. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
๔. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
๕. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ
คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ
๑. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
๓. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๔. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
๖. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ
๑. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
๓. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๔. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
๖. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ
วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์
กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค
การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้
วรรคละ ๖ คำ อ่าน ๒/๒/๒ OO/OO/OO
วรรคละ ๗ คำ อ่าน ๒/๒/๓ OO/OO/OOO
วรรคละ ๘ คำ อ่าน ๓/๒/๓ OOO/OO/OOO
วรคคละ ๙ คำ อ่าน ๓/๓/๓ OOO/OOO/OOO
ตัวอย่าง
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด// ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว// แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์ มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย?/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด// ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//
กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค
การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้
วรรคละ ๖ คำ อ่าน ๒/๒/๒ OO/OO/OO
วรรคละ ๗ คำ อ่าน ๒/๒/๓ OO/OO/OOO
วรรคละ ๘ คำ อ่าน ๓/๒/๓ OOO/OO/OOO
วรคคละ ๙ คำ อ่าน ๓/๓/๓ OOO/OOO/OOO
ตัวอย่าง
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด// ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว// แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์ มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย?/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด// ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//
กาพย์ยานี ๑๑ มีจำนวนคำ ๑๑ คำ นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติจึงจะเกิดความไพเราะ
การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน ๒/๓ OO/OOO
วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน ๓/๓ OOO/OOO
ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑
เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน// ทิพากร/จะตกต่ำ//
สนธยา/จะใกล้ค่ำ// คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง// นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
ตัวเดียว/มาพลัดคู่// เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//
การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน ๒/๓ OO/OOO
วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน ๓/๓ OOO/OOO
ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑
เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน// ทิพากร/จะตกต่ำ//
สนธยา/จะใกล้ค่ำ// คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง// นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
ตัวเดียว/มาพลัดคู่// เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//
การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
คือ การอ่านอย่างคร่าวๆ (Skimming) เป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน
โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น
การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป
คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key
words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว
(reading with fingers) การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป
เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
คือ การอ่านอย่างคร่าวๆ (Skimming) เป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน
โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น
การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป
คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key
words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว
(reading with fingers) การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป
เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
การอ่านวิธีนี้จะไม่อ่านทุกคำหรือทุกประโยค
แต่จะจับเฉพาะสำคัญ (key word) ที่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น
ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
๑. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือสองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มีความสำคัญในประโยค
จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
๒. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริงการพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรสวิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไปซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
๓. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆแล้วเริ่มต้นอ่านประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่านขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลาคืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
๔.อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้นและอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
๕.อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอนหรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้
บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
(. อ่าน Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ โดย Topic Sentence
มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ
ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความและส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic
Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
แต่จะจับเฉพาะสำคัญ (key word) ที่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น
ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
๑. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือสองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มีความสำคัญในประโยค
จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
๒. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริงการพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรสวิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไปซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
๓. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆแล้วเริ่มต้นอ่านประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่านขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลาคืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
๔.อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้นและอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
๕.อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอนหรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้
บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
(. อ่าน Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ โดย Topic Sentence
มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ
ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความและส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic
Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
สรุปขั้นตอนโดยย่อ คือ
๑. อ่านหัวเรื่อง – ถ้ามี
๒. อ่านย่อหน้าแรกอย่ารวดเร็ว
เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
๓. อ่านประโยคแรกทุกย่อหน้าที่เหลือ
เพื่อจับใจความสำคัญของย่อหน้านั้น
๔. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็ว
๕. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ
ให้ดี เพราะมัน จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
๒. อ่านย่อหน้าแรกอย่ารวดเร็ว
เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
๓. อ่านประโยคแรกทุกย่อหน้าที่เหลือ
เพื่อจับใจความสำคัญของย่อหน้านั้น
๔. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็ว
๕. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ
ให้ดี เพราะมัน จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
หีบมากมายหลายหีบ...ยกหีบหนี
หีบมากมีหนีหีบ...หนีบหนีหาย
เห็นหนีหีบ...หนีบหนีกันมากมาย
เห็นหีบหายหลายหีบ...หนีบหนีเอย
หีบมากมีหนีหีบ...หนีบหนีหาย
เห็นหนีหีบ...หนีบหนีกันมากมาย
เห็นหีบหายหลายหีบ...หนีบหนีเอย
นางสาวกนกวรรณ ศรีวินัย ม๕/๓ เลขที่ ๘
ตอบลบนางสาวชลิตา อิ่มเต็ม ม.๕/๓ เลขที่ ๑๖
ตอบลบนางสาวชลิตา อิ่มเต็ม ม.๕/๓ เลขที่ ๑๖
ตอบลบนางสาวปิรัตดาพร สายทอง ชั้นม.5/3 เลขที่ 9
ตอบลบนางสาว สุกัญญา โคษาราช เลขที่10 ม.5/3
ตอบลบ